วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหารายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ระบบการเรียนการสอนของคลอสเมียร์และริปเปิล


คลอสเมียร์ และริปเปิล (Klausmeier; & Ripple. 1971: 11)
ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ 7 ส่วน คือ
1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน
3. การจัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. การดำเนินการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
7. สัมฤทธิผลของนักเรียน

ระบบการเรียนการสอนของเนิรคและเยนตรี
 เนิรค และเยนตรี (Knirk; & Gentry. 1971) ไดกําหนดองคประกอบของระบบการเรียนการสอนเปน 6 สวน คือ

1. การกําหนดเปาหมาย เปนการกําหนดเปาหมายของการสอนไวอยางกวาง ๆ
2. การวิเคราะหกิจกรรม เปนการวิเคราะหงานตาง ๆ ที่จะตองทําโดยการยอย
เปาหมายของการสอนออกเปนจุดประสงคของการสอนเพื่อใหมีความละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้น
3. การกําหนดกิจกรรม เปนการกําหนดกิจกรรมใหเปนหมวดหมู และเลือกเอา
เฉพาะกิจกรรมที่มีความเหมาะสมที่สุด
4. การดําเนินการสอน เปนขั้นของการนําเอาแผนการที่วางไวไปสอนในชั้น
เรียน ผูสอนจําเปนตองควบคุมการดําเนินกิจกรรมใหเปนไปอยางมีประสิทธิภาพที่สุด
5. การประเมินผล เปนการประเมินผลการดําเนินงานทั้งหมดของระบบ เพื่อให
ทราบจุดดีและจุดออนที่จะตองปรับปรุงแกไข
6. การปรับปรุงแกไข เปนขั้นของการนําขอมูลที่ไดจากการประเมินผลไปแกไข
จุดออนของระบบการเรียนการสอนเพื่อจะทําใหเปนระบบการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสม
หรือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์

ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels; & Glasgow. 1990) ได้เสนอการจัดระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการพิจารณาว่าเกิดปัญหาอะไรในการเรียนการสอนโดยผ่านการรวบรวมและเทคนิคการประเมินและระบุสิ่งที่เป็นปัญหา
2. วิเคราะห์การสอนและกิจกรรม (Task and Instructional Analysis) เป็นการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อกำหนดด้านเจตคติเพื่อกำหนดสิ่งที่ได้เรียนมาก่อน
3. การกำหนดวัตถุประสงค์และแบบทดสอบ (Objective and Tests) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและแบบทดสอบอิงเกณฑ์
4. กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategy) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์และองค์ประกอบด้านการเรียนการสอน
5. การตัดสินใจเลือกสื่อการสอน (Media Decision) เป็นการเลือกสื่อการเรียนการสอนและวิธีการใช้เพื่อทำให้การเรียนการสอนบรรลุผล
6. การพัฒนาการสอน (Materials Development) เป็นการวางแผนสำหรับผลผลิต การพัฒนาวัสดุ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการเรียนการสอน
7. การประเมินผลย่อยระหว่างเรียน (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน
8. การนำไปใช้และบำรุงรักษา (Implementation Maintenance) เป็นการนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
9. การประเมินผลรวมภายหลังการเรียน (Summative Evaluation) เป็นการพิจารณาประเมินผลว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
10. การเผยแพร่และขยายผล (Dissemination Diffusion) เป็นขั้นของการจัดการให้มีการเผยแพร่ ขยายผลนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
  โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange'') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่

1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)  บทเรียนคอมพิวเตอร์
จึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง 
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน 
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)  การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) ซึ่งเป็นการประเมินความรู้ของผู้เรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาเดิมที่เคยศึกษาผ่านมาแล้ว และเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับเนื้อหาใหม่ 
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)  ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) 
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) วิดิทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เทปเสียง เป็นต้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอนเหล่านี้จัดเป็นแบบปฏิสัมพันธ์ไม่ได้ (Non-interactive Media) แตกต่างจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) การที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิด
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง 
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transf)สรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น